“ประกันชีวิต” มีกี่ประเภท

  • English
  • ภาษาไทย

ประกันชีวิต แผนประกันประเภทหนึ่งที่ให้ความคุ้มครองในเรื่องของอุบัติเหตุ ชีวิตและทรัพย์สินของเรา อาจจะเรียกได้ว่า การทำประกันชีวิตเป็นเสมือนหนังสือสัญญาทางการเงินประเภทหนึ่งเลยทีเดียว และในการทำประกันชีวิตนั้นหลายคนอาจจะคิดว่ามีเพียงแบบเดียว แต่แท้จริงแล้วมันสามารถแตกแยกออกได้หลากหลายแบบมาก ขึ้นอยู่กับความคุ้มครอง ระยะเวลา และค่าเบี้ยประกันที่คุณจะต้องจ่าย โดยในวันนี้เราจะมาขอแบ่งแยกประเภทประกันชีวิตให้ฟังกันครับ

1. “ประกันชีวิต” แบบชั่วคราว

ประกันชีวิตประเภทนี้ จะมีลักษณะที่คล้ายกับการทำประกันภัย ก็คือเป็นการจ่ายเบี้ยแบบทิ้ง โดยสมมติว่า ถ้าเราต้องการความคุ้มครอง 1,000,000 บาท 3 ปี เราก็สามารถจ่ายเบี้ยประกันครั้งเดียว แล้วถ้าหากเราเป็นอะไรไปในชั่วระยะเวลา 3 ปีนั้น คนข้างหลังหรือคนในครอบครัวของเราก็จะได้รับเงินสด 1,000,000 ไปเลย ประกันชีวิตแบบชั่วคราว จะเป็นประกันที่เอาไว้บริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะ เพราะเราจะไม่ได้รับเงินต้นคืน อีกทั้งเป็นการจ่ายเบี้ยทิ้ง จะจ่ายเฉพาะส่วนที่คุ้มครองเท่านั้น

2. “ประกันชีวิต” แบบตลอดชีวิต

ประกันชีวิตแบบนี้ จะเป็นแบบที่เราจ่ายเบี้ยไปสักระยะนึง เช่น 10 ปี 20 ปี แล้วเราจะได้รับทุนประกันชีวิตไปตลอดชีวิตของเรา อาจจะมีบางประเภทเท่านั้น ที่จะจบเมื่อเรามีอายุ 85 ปี หรือ 99 ปี เราก็จะได้ทุนทุนประกันกลับมาใช้ ซึ่งประกันแบบตลอดชีพนี้ มีไว้เพื่อออแบบเป็นมรดกให้กับลูกหลานต่อไป ซึ่งเหมาะกับการเอาไว้บริหารความเสี่ยงและไม่ได้เป็นการจ่ายเงินมาแบบสูญเปล่า

3. “ประกันชีวิต”แบบสะสมทรัพย์

ประกันชีวิตแบบหนึ่งที่หลายคนนิยมทำกันมาก เนื่องจากค่าเบี้ยประกันชีวิตที่เราจ่ายให้กับบริษัทประกัน จะได้กลับคืนมาในรูปผลตอบแทนมากกว่าค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไป โดยทั่วไปแล้ว ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์นั้น จะมีการแจ้งล่วงหน้าให้เรารู้ได้เลยว่า ค่าเบี้ยประกันที่เราจะต้องจ่าย และอัตราผลตอบแทนตามที่คาดหวังจะเป็นเท่าไร

เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับใครที่กำลังศึกษาประเภทของประกันชีวิต และสำหรับใครที่กำลังมองหาประกันชีวิต เราก็ขอแนะนำ  ประกันชีวิต KWI ประกันชีวิตออนไลน์ที่คุณสามารถเลือกประเภทความคุ้มครองที่คุณเลือกได้เอง เลือกได้ตามใจชอบตั้งแต่วงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่าย วงเงินค่าห้อง (รวมค่าอาหารและค่าบริการ) และความคุ้มครองชีวิต พิเศษกว่าใคร รับส่วนลดสูงสุดถึง 30% ในปีถัดไปหากไม่มีเคลม