โรคหัวใจ ที่เราอาจเข้าใจผิด เสี่ยงเสียชีวิตได้

  • English
  • ภาษาไทย

ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีไขมันอิ่มตัว และไขมัน trans fat อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจตีบตันได้ โดยเราจะขอแนะนำการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรทำอะไร ไม่ควรกินอะไร

ป่วย “โรคหัวใจ” ไม่ควรออกแรง
    เมื่อคนไข้ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคหัวใจจริง อาจเกิดความลังเลว่าสามารถกลับไปใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงได้หรือไม่ กลับไปทำกิจกรรมหนักเบาที่เราคุ้นเคยได้หรือไม่ คงคิดว่าจะส่งผลต่อหัวใจเราน่าดู แต่ในความเป็นจริงแล้ว การนั่งๆ นอนๆ ไม่ทำกิจกรรมอะไรเลย ไม่เคลื่อนไหวร่างกายนี่แหละเป็นอันตรายกับหัวใจมากกว่า เพราะการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อหัวใจได้ อย่างภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เพราะฉะนั้น การเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็นับเป็นการออกกำลังกาย ทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

เป็น “โรคหัวใจ” ควรเลี่ยงทานของที่มีไขมันให้มากที่สุด
    การเลือกบริโภคไขมันแค่บางชนิดและจำกัด ไม่บริโภคไขมันเกินความจำเป็นจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว และไขมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน ซึ่งไขมันทั้งหมดเหล่านี้อาจไม่ส่งผลดีต่อหัวใจ แต่ก็ไม่ใช่ว่าไขมันจะไม่ดีไปซะทั้งหมด เพราะยังมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ผู้ป่วยยังสามารถบริโภคได้ ส่วนใหญ่จะพบได้ในน้ำมันและอาหารที่เป็นพืช เช่น น้ำมันพืช ถั่ว และเมล็ดพืช ซึ่งนับว่าเป็นไขมันที่ดี อีกทั้งกรดไขมันและโอเมก้า 3 ที่พบได้ในปลาทะเลน้ำลึก โดยไขมันเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดไป

ทายาลดไขมันแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องควบคุมอาหารอีก
    
    คอเลสเตอรอล นั้นมีอยู่ 2 ทาง ทางแรกเกิดจากที่ร่างกายสร้างขึ้นโดยตับ และทางที่ 2 เกิดจากที่เรารับจากอาหารที่เรารับประทาน ซึ่งการที่ทานยาลดไขมันอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ทำให้เราปลอดภัยจากความเสี่ยง ในบางครั้งการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ๆ อย่างไม่ระมัดระวังเป็นความคิดที่ผิด เพราะยาในกลุ่ม Statin หรือยาที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล ถึงจะเป็นยางที่มุ่งไปจัดการกับไขมันที่ผลิตโดยตับ แต่ไม่ได้ครอบคลุมถึงคอเลสเตอรอลในส่วนที่ร่างกายได้รับจากอาหารอยูดี ดังนั้น แพทย์จึงมักจะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาควบคู่ไปกับการควบคุมอาการเสมอ

ทำ บายพาสหัวใจ แล้ว ก็ไม่ต้องกังวล

    จริงอยู่ที่การทำหัตถการ อย่างการสวนหัวใจ หรือบายพาสหัวใจ นั้นอาจทำให้หัวใจของผู้ป่วยกลับมาทำงานได้ดีขึ้น ไม่มีอาการเจ็บหน้าอกแล้ว แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรประมาท เพราะถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตที่ดีขึ้นแต่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจก็ยังคงอยู่ และเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตามมาได้ทุกเมื่อ อีกทั้งยังอาจเกิดการตีบซ้ำบริเวณเดิม หรือเกิดรอยตีบใหม่ได้ เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอย่างเคร่งครัด 

    นอกจากการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพแล้ว การออกกำลังกาย ทำจิตใจแจ่มใส ไม่เครียด และรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง ก็จะช่วยไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น  โดยเรามี ประกันสุขภาพฟินชัวรันส์ ที่จะช่วยให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา เพราะมีการเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลรวม สูงสุดถึง 10 ล้านบาทต่อปี ทั้งยังจ่ายค่าห้อง 9,900 บาท/วัน พร้อม OPD สูงสุด 50,000 บาทต่อปี โดยมีโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในเครือข่ายมากกว่า 364 แห่งทั่วประเทศ  สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kwilife.com/health