พฤติกรรมแบบไหนที่ควรมองว่าก้าวร้าว

  • English
  • ภาษาไทย

บางทีคุณพ่อคุณแม่อาจกังวลใจว่าทำไมลูกถึงมีพฤติกรรมก้าวร้าว พูดอะไรไป สอนอะไปก็ไม่ค่อยเชื่อฟัง ที่สำคัญชอบเถียง หรือบางทีแสดงพฤติกรรมแบบไม่พอใจกรี๊ดบ้าง หรือร้องไห้บ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้มีเหตุผล วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันครับ

ก่อนที่จะพิจารณาว่าเด็กก้าวร้าวหรือไม่ก้าวร้าว คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนว่าคำว่า “ก้าวร้าว”ในความหมายของคุณพ่อคุณแม่นั้น คืออะไร เพราะบางครั้งอาจเป็นเพียงพฤติกรรมของเด็กที่ปกติ เช่น เด็กเถียง หรือ แสดงความคิดเห็น และต้องประเมินว่าความก้าวร้าวนั้นรุนแรงระดับใด เช่น ก้าวร้าวทางคำพูด หรือ ก้าวร้าวทางพฤติกรรม และความก้าวร้าวนั้นส่งผลกระทบโดยตรงกับใครบ้าง เช่น บิดามารดา หรือ บุคคลภายนอก เช่น รังแกเพื่อน หรือ เกิดความขัดแย้งกับครู ซึ่งการประเมินสิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจปัญหาได้ดีขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องบรรยายลักษณะอย่างชัดเจนว่าพฤติกรรมเหล่านั้นคืออะไร ผิดปกติไหม? ลูกเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ เพราะนิยามของความก้าวร้าวในแต่ในบุคคลไม่เหมือนกัน

ทำไมเด็กถึงมีพฤติกรรมก้าวร้าว?

เด็กที่ก้าวร้าวอาจมีความเกี่ยวข้องกับโรคทางจิตเวชและโรคสมาธิสั้น ซึ่งอาการสมาธิสั้นมักพบความก้าวร้าวร่วมด้วยได้ เช่น เด็กสมาธิสั้นอาจมีพฤติกรรมที่เล่นรุนแรงและขาดการยั้งคิด ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนได้ หรือเด็กอาจจะเป็นโรคเกเร  ซึ่งมีความก้าวร้าวโดยเจตนาและตั้งใจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือบาดเจ็บ โรคเด็กสั้นกับโรคเด็กเกเรแตกต่างกันเช่นเด็กสมาธิสั้นนั้นจะแค่ไม่ทำในสิ่งที่ไม่ชอบไม่ทำในส่งที่ต้องใช้ความอดทนเป็นเวลานานๆ ส่วนโรคเด็กเกเรนั้นจะทำตัวให้เป็นปัญหาอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้โรคทางด้านอารมณ์อาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ เช่น เด็กมีอาการซึมเศร้า ซึ่งอาการซึมเศร้าในเด็กอาจไม่ได้แสดงออกมาในลักษณะเศร้า,หดหู่ หรือเก็บตัว แต่อาจแสดงออกมาในลักษณะหงุดหงิดง่าย ขี้โมโห และระบายอารมณ์อย่างรุนแรงและส่งผลกระทบต่อผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน

ถ้าหากพบว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้นและมีพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้น ลองส่งลูกมาเข้าคอร์สฝึกสมาธิสั้นดู ที่สถาบัน BrainFit Studio ซึ่งมีหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อเด็กสมาธิสั้นโดยเฉพาะให้อาการสมาธิสั้นดีขึ้นอย่างสังเกตได้